หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 2 ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์  
บทที่ 6 ทฤษฎีการเคลื่อนตัวของทวีป Plate tectonics  
     
  ทฤษฎีการเคลื่อนตัวของทวีป Plate tectonics  
   
  ทฤษฎีการเคลื่อนตัวของทวีป continental drift ถูกนำเสนอโดย อัลเฟลด เวเนเนอร์ Alfred Wegener นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมนี กล่าววว่า เมื่อประมาณ 250 ล้านปีมาแล้ว ตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบรียน Precambrian ในอดีตเปลือกโลกเคยเป็นพื้นแผ่นดินเดียวกัน เรียกว่า แผ่นดินพันเจีย pangea ทางด้านตะวันตกมีมหาสมุทร พันทาลัสซา Panthalassa Ocean ทางด้านตะวันออกมีมหาสมุทรเทลิส Thethys Ocean  
   
       
  ยุคต่อมาประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว แผ่นเปลือกโลกแผ่นดินพันเจีย pangea ได้แยกออกเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย  
 
  1. แผ่นดินซีกโลกเหนือ เรียกว่า  ลอเรนเซีย  Laurasia  แผ่นดินลอเรเชีย  Laurasia ประกอบด้วย  ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป และ ทวีปเอเชีย
  2. แผ่นดินซีกโลกใต้ เรียกว่า กอนด์วานา  Gondwana แผ่นดินกอนด์วานา Gondwanaland ประกอบด้วย ทวีป    ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย และแอนตาร์กติกา
 
  และยังคงมีมมหาสมุทรพันทาลัสซา Panthalassa Ocean อยู่ทางด้านตะวันตกส่วนทางด้านตะวันออกมีมหาสมุทรเทลิส Thethys Ocean  
   
       
  ยุคต่อมาประมาณ 145 ล้านปีมาแล้ว แผ่นดินลอเรเชีย  Laurasia และแผ่นดินกอนด์วานา Gondwanaland เริ่มแยกออกจากกันเป็นทวีปอเมริกาเหนือและทวีปเอเชีย ส่วนในซีกโลกใต้ แผ่นดินกอนด์วานาประกอบด้วยแผ่นออสเตรเลียยังอยู่บริเวณขั้วโลกใต้ แผ่นอเมริกาใต้ยังติดอยู่กับแผ่นแอฟริกา แต่แผ่นอินเดียเริ่มแยกออกจากแผ่นแอฟริกาและแผ่นออสเตรเลีย เคลื่อนขึ้นไปทางเหนือ  
   
       
  ยุคต่อมาประมาณ 65 ล้านปีมาแล้ว แผ่นเปลือกโลกได้แยกออกจากกันมากขึ้น เกิดแผ่นดินยูเรเซีย(ยุโรปกับเอเซีย)ติดกัยแผ่นแอฟริกา ส่วนแผ่นอเมริกาใต้ได้แยกออกจากแผ่นแอฟริกามากขึ้น เกิดมหาสมุทรแอตแลนติก แผ่นอินเดียเคลื่อนขึ้นไปทางเหนือมากขึ้น แต่แผ่นออสเตรเลียยังตัดอยู่กับแผ่นแอนตาร์กติกาบริเวณขั้วโลกใต้  
   
       
     
       
  ยุคต่อมาประมาณ 50 ล้านปีมาแล้ว แผ่นเปลือกโลกยังคงมีการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง แผ่นอินเดียเข้าชนกับแผ่นยูเรเซียทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย ในปัจจุบัน ทั้งแผ่นทวีปและแผ่นมหาสมุทรยังมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา   การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกมี 3 ลักษณะคือ  
    1. แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร 2 แผ่นมาชนกัน  
    2. แผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นทวีป  
    3. แผ่นทวีปชนกับแผ่นทวีป  
     
   
   นักธรณีวิทยาได้ศึกษาเปลือกโลก โดยพิจารณาแนวแบ่งเขตของเปลือกโลกมี 3 แนว คือ  
 
  1. สันเขากลางมหาสมุทร    mid-oceanic ridge
  2. บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกชนกัน   Covergent plate boundary
  3. บริเวณที่แผ่นเปลือกโลกแยกออกจากกัน   Divergent plate boundaries
 
     
 
 
     
  ซึ่งแผ่นเปลือกโลกจะประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่  6 แผ่นด้วยกัน ได้แก่  
  1. แผ่นยูเรเซีย
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ ทวีปเอเชียและทวีปยุโรป และพื้นน้ำบริเวณใกล้เคียง
         
  2. แผ่นอเมริกา
เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ และพื้นน้ำครึ่งซีกตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก
         
  3. แผ่นแปซิฟิก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ มหาสมุทรแปซิฟิก
         
  4. แผ่นออสเตรเลีย เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ ทวีปออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และพื้นน้ำระหว่างประเทศออสเตรเลียกับประเทศอินเดีย
         
  5. แผ่นแอนตาร์กติก เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ    ทวีปแอนตาร์กติกา และพื้นน้ำโดยรอบ
         
  6. แผ่นแอฟริกา เป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับ   ทวีปแอฟริกา และพื้นน้ำรอบๆ
         
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th